เรื่องร้ายๆ ที่คุณเคยประสบพบเจอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องร้ายๆ จากการกระทำของผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นคนคนนอก คนใกล้ชิด คนรัก หรือคนเคยรัก หลายเรื่องคงไม่น่าให้อภัยใช่ไหม? แต่มีงานวิชัยชิ้นใหม่ที่ค้นพบว่า การให้อภัยจะเพิ่มมีพื้นความสุขให้กับชีวิตของคุณมากขึ้น
เอเวอเรตต์ วอร์ธิงตัน นักจิตวิทยาคลินิก ผู้มีประสบการณ์หลายทศวรรษในการศึกษาการให้อภัย เขาเป็นนักวิจัยร่วมของการศึกษาล่าสุดที่แสดงให้เห็นว่าการให้อภัยผู้อื่นอาจทำให้สุขภาพจิตและความเป็นอยู่ดีขึ้น
“มีประโยชน์มากมายสำหรับคนที่รู้จักให้อภัย” วอร์ธิงตันกล่าว “วิธีหลักๆ ที่การให้อภัยส่งผลต่อสุขภาพจิตคือการลดการครุ่นคิดซึ่งกำลังเล่นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในจิตใจของเรา” เขากล่าวเสริม
แน่นอน ทุกครั้งที่คนเรามีอาการครุ่นคิดคร่ำครวญถึงเรื่องราวในอดีต ก็มักจะทำให้พวกเขาเครียดมากขึ้น “แต่ในขณะที่เราให้อภัย เราก็จะได้รับการปิดคดีในเหตุการณ์นั้นๆจำนวนหนึ่ง และการปิดเรื่องราวก็ช่วยลดการคร่ำครวญ ลดความเครียดลงได้” วอร์ธิงตันกล่าว
การศึกษาดังกล่าวใช้กลุ่มตัวอย่างกว่า 4,500 คน จาก 5 ประเทศ ซึ่งในระหว่างการทดลอง ผู้เข้าร่วมครึ่งหนึ่งทำแบบฝึกหัดในสมุดที่มีเครื่องมือช่วยในการให้อภัย และหลังจากผ่านไปสองสัปดาห์ พวกเขามีอาการซึมเศร้าและวิตกกังวลน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้ทำแบบฝึกหัด
แม้งานวิจัยดังกล่าวจะยังไม่ได้รับการทบทวนและพิจารณาโดยนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง แต่กรอบงานของแบบฝึกหัดนั้นค่อนข้างเรียบง่ายและสามารถนำมาใช้ เพื่อช่วยให้คุณเริ่มต้นบนเส้นทางสู่การให้อภัย โดยแบบฝึกหัดดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า ‘REACH’
กลุ่มตัวอย่าง (รวมไปถึงผู้เข้ารับการบำบัด) ใช้แบบจำลอง 5 ขั้นตอนสำหรับการให้อภัยที่วอร์ธิงตันสร้างขึ้น โดย REACH มีชื่อจากตัวอักษรตัวแรกใน 5 ขั้นตอน ดังที่เราจะอธิบายดังต่อไปนี้
1. Recall the hurt หรือ ระลึกถึงความเจ็บปวด: พยายามนึกถึงความเจ็บปวดโดยไม่เน้นผลลัพธ์เชิงลบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต วอร์ธิงตันกล่าว
2. Empathize with the person หรือแสดงความเห็นอกเห็นใจ: พยายามเห็นอกเห็นใจคนที่ทำร้ายคุณ วอร์ธิงตันกล่าวว่า “ความเจ็บปวดบางอย่างมันน่ากลัวจนเราไม่สามารถเอาใจเขามาใส่ใจเราและแสดงความเห็นอกเห็นใจได้ ในกรณีนั้น ลองปรับเป็นอารมณ์อื่นๆ เช่น รู้สึกเสียใจต่อพวกเขา เห็นอกเห็นใจพวกเขา หรือสงสารพวกเขา”
3. Altruistic gift หรือ มอบสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น: , มอบของขวัญที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น นั่นคือ การให้อภัยโดยปราศจากความเห็นแก่ตัว
4. Commit หรือ ผูกมัด: เขียนบันทึกถึงตัวเองเกี่ยวกับคนที่คุณให้อภัยเพื่อช่วยให้การให้อภัยยังคงอยู่
5. Hold onto your forgiveness หรือ ยึดมั่นในการให้อภัย: วอร์ธิงตันกล่าวว่า นี่เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งเมื่อคุณประสบกับอารมณ์ที่ทำให้คุณเริ่มลังแลที่จะให้อภัย
อ่านถึงตรงนี้ หากคุณสนใจที่จะทดลองทำแบบฝึกหัดการให้ภัย คุณสามารถดาวน์โหลดแบบฝึกหัดมาลองทำได้ที่ https://reach.discoverforgiveness.org/ ได้ผลอย่างไรแล้ว มาบอกเราด้วยนะ! เพราะในเว็บไซต์อ้างอิงว่า REACH เป็นเครื่องมือเสริมการรักษาและการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ และผู้ที่ทำแบบฝึกหัดเสร็จแล้ว พบอาการซึมเศร้าและการไม่ให้อภัยลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ
นอกจากนี้ เรายังมีเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับประสบการณ์ตรงของนักจิตวิทยาคลินิกผู้นี้ นั่นคือ วอร์ธิงตันเคยเผชิญกับความท้าทายในการให้อภัยชายคนหนึ่งที่ฆ่าแม่ของเขาในปี 1996
หลังจากประมวลผลความรู้สึกของเขาและเห็นว่าความเจ็บปวดกำลังเปลี่ยนแปลงตัวเขาอย่างไร เขาตัดสินใจที่จะให้อภัยชายคนนั้นและยึดมั่นในการให้อภัยเสมอมา
“ผมสัมผัสได้ถึงการให้อภัยทางอารมณ์ และตัดสินใจว่าผมจะปฏิบัติต่อเขาแตกต่างออกไปหากเกิดเหตุการณ์ที่ผมเคยพบในครั้งก่อนๆ” วอร์ธิงตันกล่าว
การตัดสินใจให้อภัยในช่วงเวลานั้นไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับวอร์ธิงตัน แต่มันทำให้เขาเป็นอิสระจากการถูกขังอยู่ในที่มืดมิด