ไม่ได้มีแค่ไข้หวัด! สำรวจโรคติดต่อที่มาทุกฤดูฝน ที่ทุกคนต้องเฝ้าระวังไม่ได้มีแค่ไข้หวัด! สำรวจโรคติดต่อที่มาทุกฤดูฝน ที่ทุกคนต้องเฝ้าระวัง

ศักดิ์สิทธิ์ ไม้ลำดวน

ถ้าพูดถึงโรคที่มากับฤดูฝนคุณจะนึกถึงอะไร? อันดับแรกๆ ที่หลายคนนึกถึงนั่นคือโรคไข้เลือดออกแน่นอน เพราะยุงลายขยายพันธุ์ได้ดีในที่ที่มีน้ำขัง ซึ่งด้วยสภาพอากาศในฤดูฝนนั้นก็ยิ่งเป็นใจ แต่ยังมีอีกหลายกลุ่มโรคที่เราต้องระวังในช่วงฤดูฝนนี้ ที่คุณอาจคาดไม่ถึง! ซึ่งแม้ในปีนี้สภาพอากาศจะแปรปรวน มีปริมาณฝนน้อยลงกว่าทุกปี แต่เราก็ไม่ควรละเลยในการป้องกันโรคที่มากับฤดูฝนนี้ ส่วนจะเป็นโรคกลุ่มใดบ้างนั้น ไปดูกันเลย

1. กลุ่มโรคติดต่อที่เกิดจากยุง หรือสัตว์พาหะต่างๆ

    1.1 ไข้เลือดออก เกิดจากเชื้อไวรัส โดยมียุงลายเป็นพาหะ ผู้ที่ถูกยุงลายกัดจะมีอาการไข้สูงลอย (38.5-40 องศาเซลเซียส) นาน 2-7 วัน หน้าแดง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก เบื่ออาหาร มีจุดแดงๆ ตามร่างกาย อาจมีเลือดออกผิดปกติ มือเท้าเย็น หรือช็อกได้

    1.2 ไข้สมองอักเสบเจอี (Japanese Encephalitis) เกิดจากเชื้อไวรัส มียุงรำคาญเป็นพาหะ ส่วนใหญ่ของผู้ติดเชื้อจะไม่มีอาการ แต่หากมีอาการจะมีไข้สูง ปวดศีรษะมาก คลื่นไส้ อ่อนเพลีย บางรายที่หายป่วยอาจมีความพิการทางสมอง สติปัญญาเสื่อม หรือเสียขชีวิตได้

    1.3 มาลาเรีย เกิดจากเชื้อโปรโตชัว โดยมียุงก้นปล่อมซึ่งมีแหล่งอาศัยอยู่ในป่าเป็นพาหะ ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง หนาวสั่น แม้จะรักษาให้หายได้ด้วยการรับประทานยา แต่หากได้รับการรักษาช้า อาจเปิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ไจ้วาย ปอดบวมน้ำ ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

    1.4 โรคเลปโตสไปโรซิส เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในฉี่หนูหรือสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข สุกร โค กระบือ รวมไปถึงสัตว์ป่าและสัตว์ฟันแทะอื่นๆ โดยเชื้อโรคจะปะปนอยู่ในน้ำและสิ่งแวดล้อม เช่น แอ่งน้ำ ดิน โคลน หรือที่ชื้นแฉะที่มีน้ำท่วมขัง โดยเชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายผ่านบาดแผลหรือเยื่อบุจมูกและตา รวมสไปถึงการกินอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะ มีไข้สูง ปวดกล้ามเนื้อบริเวณน่องและโคนขาอย่างรุนแรง อาจมีอาการรุนแรงอื่นๆ เช่น ดีซ่าน ไตวาย หรือช็อกได้

2. กลุ่มโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ

    เมื่อเข้าหน้าฝน อากาศเปลี่ยนแปลง ก็มักจะเกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปิอดบวม หลอดลมอักเสบ เป็นต้น ซึ่งสาเหตุเกิดจากเชื้ออไวรัสและแบคทีเรียที่ปะปนอยู่ในอากาศ ติดต่อได้ง่ายผ่านการไอและจาม

 3. กลุ่มโรคติดต่อทางน้ำและอาหาร โดยเฉพาะช่วงที่มีน้ำท่วมขัง

    ได้แก่ โรคท้องเดิน อุจจาระร่วง บิด ไทฟอยด์ อาหารเป็นพิษ โดยมีสาเหตุเกิดจากการดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรค รับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ หรือใช้น้ำที่ไม่ผ่านการบำบัดมาประกอบอาหาร ซึ่งอาจมีเชื้อโรคปน นอกจากนี้ สภาพอากาศที่ร้อนกว่าปกติเหมาะแก่การเจริญเติบโตของเชื้อโรค หรือการสนร้างพิษของเชื้อโรค ทำให้อาหารเน่าเสียง่ายขึ้น

4. โรคเยื่อบุตาอักเสบ

    หรือที่คนคุ้นเคยในชื่อโรคตาแดง เกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อจะอยู่ในน้ำตาหรือขี้ตา ติดต่อโดยการสัมผัสใกล้ชิดหรือใช้ของร่วมกัน หรือใช้น้ำไม่สะอาดล้างหน้า อาบน้ำ นอกจากนี้ การถูกน้ำสกปรกกระเด็นเข้าตา หรือใช้มือ และ และเสื้อผ้าที่สกปรกเช็ดตาหรือขยี้ตา ก็เป็นสเหตุกของการเปิดโรคเยื่อตาอักเสบได้เช่นกัน

การป้องกันโรค

1. รักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ ไม่สวมเสื้อผ้าที่เปียกน้ำ

2. รับประทานอาหารสะอาดและปรุงสุกใหม่ๆ

3. ล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร รวมภุงล้างมือและล้างเท้าให้สะอาดทุกครั้งหลังจากเดินย่ำน้ำ ในกรณีที่สัมผัสกับน้ำสกปรกให้ใช้ผ้าสะอาดเช็ดให้แห้ง และการใช้เครื่องป้องกันอย่างรองเท้าบู๊ตก็สามาถลดความเสี่ยงในการติดโรคได้

4. อย่าให้ถูกยุงกัด เช่น นอนในมุ้ง ทายากันยุง หรือทำลายแห่งเพาะพันธุ์ยุง

5. อย่าใช้มือสกปรกขยี้ตา

6. หากเริ่มมีอาการเจ็บป่วย ไม่สบาย หรือผิวหนังเริ่มเปื่อย เกิดตุ่มคัน ให้รีบไปพบแพทย์ก่อนอาการจะลุกลาม


ที่มา: http://dcd.ddc.moph.go.th/uploads/pdf/PHER_office/rainy%20season.pdf

https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/652

SHARE